วันพุธที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2550





welcome
to my blog
welcome
to my world


ตัวอย่าง สุนทรียศาสตร์ทางดนตรี การเล่นคำ บทเพลงนี้

ภาพสายน้ำ

การเล่นคำของบทเพลง
ฝากรัก <--- click ฟังเพลง

สายน้ำ น้ำไหล ล่องโรย
สายลม ลมโชย โบยลิ่ว
สายฝน ฝนหล่น ล้มปลิว
ปลิวกระจาย เปียกกาย เปียกใจ
สายน้ำ น้ำไหล แห้งโหย
สายลม ลมโชย อ่อนแรง
สายฝน ฝนแล้ง ลมแล้ง
ฝนแห้ง แห้งกาย ยังเปียกใจ
ฝากสายน้ำ ไหลถึงเธอ
ฝากลม บอกเธอ ฉันเหงา
ฝากฝน ให้หล่น หล่นเบาๆ
ฝากรัก แนบเนา ข้างกายและใจ
สายน้ำ สายลม คือรัก
ด้วยรัก ฝากไป พร้อมฝน
ฝากไว้ เคียงข้าง ใจคน
ฝากรัก ฉ่ำล้น ชื่นใจ
ฝากสายน้ำ ไหลถึงเธอ
ฝากลม บอกเธอ ฉันเหงา
ฝากฝน ให้หล่น หล่นเบาๆ
ฝากรัก แนบเนา ข้างกายและใจ
ฝากสายน้ำ ไหลถึงเธอ
ฝากลม บอกเธอ ฉันเหงา
ฝากฝน ให้หล่น หล่นเบาๆ
ฝากรักแนบเนา ข้างกายและใจ

วันอังคารที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2550

มุมฟังเพลงของตัวเองค่ะ


หยุด <---click ฟังเพลงนี้
ลมหายใจ <---click ฟังเพลงนี้
ฤดูที่แตกต่าง <---click ฟังเพลงนี้
คนข้างล่าง <---click ฟังเพลงนี้
ห่างไกลเหลือเกิน (So far away) <---click ฟังเพลงนี้
Can't Take My Eyes Off You <---click ฟังเพลงนี้
ฝากรัก <---click ฟังเพลงนี้
ดึกแล้ว <---click ฟังเพลงนี้
จะเก็บเธอในใจเสมอ <---click ฟังเพลงนี้

I love my mom.ภูมิใจนำเสนอ.. แม่ของฉัน

อิ่มอุ่น <---click ฟังเพลง อิ่มอุ่น
ไม่ว่าจะ โต โข่ง ขนาดไหน ก็ยังเป็นเด็กในสายตา ของแม่เสมอ ถ้าใครมาทำให้ลูกแม่คนนี้เสียใจ คุณนายตัวจริงคนนี้จะมาทันที....ฮึ่ม! คุณนาย แต่งงานกับคุณพ่อ ซึ่งเป็นนายทหารที่หล่อมากๆ นี่ก็นายทหารตัวจริง จบ จปร.รุ่นที่ 12 แต่คุณนายแม่นี่สิ ไม่ชอบแต่งหน้า แต่งตัวเอาซะเลย.

วันพฤหัสบดีที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2550

ตอบคำถาม อาจายรย์ 10 ข้อ


1.สุนทรียศาสตร์อะไร ? มีประโยชน์ต่อวิชาชีพพยาบาล และอย่างไร ?
ตอบ ในทัศนะของตนคิดว่า สุนทรียศาสตร์สาขา จริยศาสตร์ มีประโยชน์ต่อ วิชาชีพพยาบาล เนื่องจาก ต้องศึกษาและประเมินคุณค่าเกี่ยวกับ ความประพฤติ และ การกระทำของมนุษย์ โดยมีประเด็นสำคัญคือ ความดี ความเลว คุณธรรม ความยุติธรรม ความถูกต้อง สิทธิและหน้าที่ ทั้งต่อตนเอง และผู้อื่น ซึ่งวิชาชีพพยาบาลจำเป็นต้องปฏิบัติงานกับผู้ป่วย ควรมีความเป็นพยาบาลในการปฏิบัติงาน ซึ่งความเป็นพยาบาลนั้น เกี่ยวเนื่องไปถึง ความประพฤติ การกระทำ ความดี ความเลว คุณธรรม ดังที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้นค่ะ

2.สุนทรียศาสตร์จัดอยู่ในสาขาใด ?
ตอบ เป็น ปรัชญาสาขา อัคฆวิทยา (axilogy) หรือ ทฤษฏีคุณค่า เป็นหนึ่งใน 3 สาขาของปรัชญา
บริสุทธ์

3. สุนทรียศาสตร์ กับ จริยศาสตร์ แตกต่างกันอย่างไร ?
ตอบ สุนทรียศาสตร์ แตกต่างกับ จริยศาสตร์ ตรงที่
สุนทรียศาสตร์ ศึกษาและประเมินคุณค่าของความงามทั้งที่เป็นผลงาน ที่มนุษย์สร้างขึ้น และความงามของสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ โดยมี สุนทรียธาตุ เป็นปัจจัยสำคัญ ประเด็นของปัญหาได้แก่ ความสวย ความงาม คุณค่า คุณสมบัติ อารมณ์ ความรู้สึก
จริยศาสตร์ ศึกษาและประเมินคุณค่าเกี่ยวกับ ความประพฤติหรือ การกระทำของมนุษย์ โดยมีประเด็นสำคัญของปัญหาได้แก่ ความดี ความเลว คุณธรรม ความยุติธรรม ความผิด ความถูกต้อง สิทธิหน้าที่

4. ความงามตามทัศนของท่านหมายความว่าอย่างไร ?
ตอบ ความงามในทัศนะของตน หมายถึง สิ่งต่างๆอะไรก็ได้ที่สัมผัสรับรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 แล้วทำให้รู้สึกดี น่าทึ่ง ทำให้เกิดความสุข ความพึงพอใจ ความเพลิดเพลิน ต่อสิ่งนั้นๆ และเป็นความงามในทางบวกเสมอ ในทัศนะส่วนตัวจะเห็นสิ่งต่างๆเป็นความงามเสมอ อาจเป็นเพราะมีอารมณ์และความรู้สึกเป็นศิลปินมากมายอยู่ในตัวเอง บางครั้งนั่งมองท้องฟ้าก็ยังรู้สึกได้ว่า สีสันของท้องฟ้าในแต่ละช่วงเวลานั้น ให้ความสวยงามแตกต่างกันไป

5. สุนทรียธาตุคืออะไร มีความหมายครอบคลุมอะไรบ้าง ?
ตอบ สุนทรียธาตุ มีองค์ประกอบของความงาม 3 ประการคือ ความงาม ความแปลกหูแปลกตา ความน่าทึ่งทั้งต่อสิ่งที่เป็นธรรมชาติ และเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของศิลปกรรม และธรรมชาติ สามารถรับรู้ได้ ด้วยอารมณ์ ความรู้สึก ให้คุณค่าต่อจิตใจในทางบวก

6. ท่านมีวิธีตัดสินความงามอย่างไร ?
ตอบ
ตามทัศนของตน ไม่ว่าจะเป็นสิ่งใดๆก็ตามที่รับรู้ได้ด้วยสัมผัสทั้ง 5 และทำให้รู้สึกพึงพอใจ เพลิดเพลิน มีความสุข ส่งผลต่อจิตใจในทางบวก เช่น สิ่งที่เป็นธรรมชาติ สายน้ำ เสียงเพลง บทกวี ถือเป็นความงามทั้งสิ้น มิอาจตัดสินได้ แต่ถ้าจะหาวิธีตัดสินความงาม ก็คงจะกล่าวได้ว่า สิ่งใดก็ตามที่ตนเองรับรู้ได้
สัมผัสได้ และทำให้ตนเองเกิดความพึงพอใจ และความสุขในทางบวก ถือว่าเป็นความงาม เช่น เห็นน้ำค้างบนยอดหญ้า ลายของเปลือกไม้ ต้นไม้ที่มีใบไม้เปลี่ยนสี เสียงดนตรี บทกวี บทเพลง เป็นต้น


7. ยกตัวอย่างการตัดสินความงามของนักปรัชญากลุ่มต่างๆ อย่างน้อย 3 กลุ่ม ?
ตอบ
การตัดสินความงามของนักปรัชญามีหลายกลุ่มด้วยกัน แต่ในทัศนะของตนขอยกตัวอย่าง นักปรัชญาที่ตรงใจกับตนเองคือ
1.St.thomas Aquinas ถือว่า สิ่งที่งามคือสิ่งให้ความเพลิดเพลิน เพราะเรารู้ความงามได้ด้วยสติปัญญา ความงามมีเงื่อนไข 3 ประการคือ ความสมบูรณ์ ความได้สัดส่วน และความชัดแจ้ง สิ่งที่บกพร่องไม่ได้สัดส่วนและคลุมเครือ ขาดความชัดแจ้งเป็นสิ่งไม่งาม ความงามกับความดีโดยเนื้อแท้เป็นอันเดียวกันเพราะขึ้นอยู่กับรูปแบบ สัดส่วน ระเบียบและความกลมกลืนกัน
2.Hegel ถือว่า ความงามเป็นอาการของจิตสมบูรณ์ และปรากฏเป็นความงามทางสื่อคือ ประสาทสัมผัส ความงามปรากฏออกมาทางศิลปะ และศิลปะคือการที่มีจิตมีอำนาจเหนือวัตถุ
3.Nietzsche ถือว่า โลกนี้เป็นสิ่งชั่วร้ายน่าเกลียด แต่เปลี่ยนเป็นโลกที่ดีงามและน่ารื่นรมย์เพราะศิลปกรรมและจริยธรรม ศิลปะที่เปลี่ยนคุณค่าของชีวิตและของโลกมี 2 แบบ คือศิลปะอันเกิดจากความฝัน และศิลปะอันเกิดจากความเพลิดเพลิน เช่น ศิลปะอันเกิดจากความฝัน อยากสร้างโลกให้สวยงามแสดงออกทาง ประติมากรรม สถาปัตยกรรม

8.
ท่านคิดว่า คุณค่ากับคุณสมบัติ เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร ?
ตอบ
ในทัศนะของตนคิดว่า คุณค่า กับ คุณสมบัติมีความแตกต่างกันตรงที่
คุณค่า คือความเป็นจริง และมีอยู่ตลอดเวลา ไม่อาจสูญหายไปไหนได้
คุณสมบัติ คือ สิ่งที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้
ยกตัวอย่าง เช่น น.ส. สายทิพย์ เป็นพยาบาลเฉพาะทาง และมีความชำนาญทางด้าน ช่วยแพทย์ทำผ่าตัด และส่งเครื่องมือผ่าตัดเป็นอย่างดี แต่โดยส่วนตัว น.ส.สายทิพย์ เป็นบุคคลที่มีความนอบน้อมถ่อมตน เห็นใจผู้อื่น เกรงใจ และชอบช่วยเหลือผู้อื่น
จากตัวอย่าง
คุณค่า คือ เป็นบุคคลที่มีความนอบน้อมถ่อมตน เห็นใจผู้อื่น ชอบช่วยเหลือผู้อื่น และสิ่งนี้จะมีและติดตัวไปตลอด
คุณสมบัติ คือ เป็นพยาบาล มีความชำนาญทางด้านห้องผ่าตัด ถ้าสักวันหยุดงานไป หลายปี คุณสมบัติเหล่านี้สามารถหายไปได้ แต่ถ้าทั้ง 2 สิ่งสามารถมีอยู่และไปควบคู่กันได้จะถือเป็นสิ่งที่ดีมาก


9. คุณค่ามีกี่แบบ แต่ละแบบมีความสำคัญอย่างไร ?
ตอบ
คุณค่ามี 2 แบบ คือ
1.คุณค่าในตัวเอง คือ ความต้องการสิ่งๆนั้น เพราะตัวของสิ่งนั้น ไม่ใช่เพื่อสิ่งอื่น เช่น การมีความสุขทางจิตใจ
2.คุณค่านอกตัว คือ ความต้องการสิ่งๆนั้น เพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งอื่นๆ เช่น ต้องการทำงานเพื่อให้ได้เงิน


10. พยาบาล กับ ความเป็นพยาบาล แตกต่าง หรือ สัมพันธ์กันอย่างไร ?
ตอบ
ความเป็นพยาบาล และ พยาบาลต่างกัน เนื่องจากที่อธิบายไปในข้อ 8 นั้น สรุปได้ว่า พยาบาลคือ คุณสมบัติ แต่ ความเป็นพยาบาลคือ คุณค่า แต่ถ้าทั้ง 2 สิ่งสามารถอยู่ร่วมกันและไปด้วยกันได้จะถือว่าเป็นสิ่งที่ดีมาก ที่2 สิ่งนี้มีอยู่ในตัวบุคคลใดคนหนึ่ง

เครื่องดนตรีชนิดต่างๆ

วันจันทร์ที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2550

งานกลุ่มในหัวข้อ " ความหมายของสุนทรียศาสตร์ "

ความหมายของสุนทรียศาสตร์
สุนทรียศาสตร์ เพิ่งได้รับความนิยมหลังจากที่มีการทบทวนเนื้อหาวิชา และขอบข่ายของการศึกษาตามแนวของวิทยาศาสตร์ เมื่อต้นศตวรรษที่ 18 โดยนักปรัชญาเยอรมันชื่อ อะเล็กซานเดอร์ บวมการ์เตน (Alexander Baumgaten. 1718 – 162) เลือกคำในภาษากรีกคือคำว่า Aisthesis หมายถึงการรับรู้ตามความรู้สึก (Sense Perception) มาใช้เป็นชื่อวิชาเกี่ยวกับทฤษฎีแห่งความงาม ซึ่งตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า Aesthetics หรือ Estheticsและในภาษาไทยใช้คำว่า สุนทรียศาสตร์ ซึ่งหมายถึง วิชาที่ศึกษาเกี่ยวการรับรู้ หรือศาสตร์ของการรับรู้ (The Science of Perception)
นอกจากนี้ สุนทรียศาสตร์ ยังหมายถึง
1. วิชาที่เกี่ยวข้องกับหลักเกณฑ์ของการรับรู้ และเกี่ยวข้องดับความหมาย
2. วิชาที่เกี่ยวข้องกับหลักเกณฑ์และคุณลักษณะของความงาม คุณค่าของความงามและรสนิยมอย่างมีหลักการ
3. วิชาที่ส่งเสริมให้สอบสวน และแสวงหาหลักเกณฑ์ของความงามสากลในลักษณะของรูปธรรมที่เห็นได้ รู้สึกได้ รับรู้ได้ เพื่อชื่นชมได้
4. วิชาที่เกี่ยวข้องกับประสบการณ์ตรงของบุคคลสร้างพฤติกรรมตามความพอใจ โดยไม่หวังผลตอบแทนในทางปฏิบัติ เป็นความรู้สึกพอใจตามที่เลือกด้วยตนเองและสามารถเผื่อแผ่เสนอแนะผู้อื่นให้มีอารมณ์ร่วมรู้สึกได้ด้วย
5. วิชาที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาพฤติกรรมตอบสนองของมนุษย์จากสิ่งเร้าภายนอกตามเงื่อนไขของสถานการณ์ เรื่องราวความเชื่อ และผลงานที่มนุษย์สร้าง
ประสบการณ์สุนทรียะ......
ประสบการณ์สุนทรียะต่างกับประสบการณ์อื่น ๆ ตรงที่เราจัดหาให้ตัวเราเอง เลือกเองไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม เมื่อเกิดขึ้นแก่เราแล้ว ทำให้เราเพลิดเพลิน พึงพอใจ เกิดความอิ่มเอิบใจ ไม่หวังสิ่งใดตอบแทน เช่น การเดินเล่น การชมนิทรรศการ ดูภาพยนตร์ ชมภูมิประเทศ สัมผัสธรรมชาติ ชมการประกวดกล้วยไม้
การอ่านนวนิยาย การฟังเพลง ชมการแสดงต่าง ๆ ฯลฯ ประสบการณ์สุนทรียะเหล่านี้ เรามีความ
เต็มใจที่จะได้รับรู้ ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมที่สังคมจัดขึ้น หรือเราเลือกกิจกรรมนี้สำหรับตัวเราเอง กล่าวได้ว่า เป็นประกบการณ์ที่
บังคับกันไม่ได้ เกิดจากความต้องการหรือความอยากของเราเอง
ประสบการณ์สุนทรียะที่เราเลือกหาให้แก่ตัวเราเอง มักอดไม่ได้ที่จะเผื่อแผ่ผู้อื่นที่มีความสนใจคล้าย ๆ กับเรา เพื่อให้เขาได้ร่วมรู้สึกเบิกบานยินดี และมีความสุขด้วย สอดคล้องกับความจริงที่ว่า เมื่อรับอะไรเข้าไปแล้ว ก็จะพยายามถ่ายทอดออกมาเพื่อ
รักษาให้อยู่ในสภาพสมดุล

ประสบการณ์สุนทรียะกับความเป็นจริง...

ประสบการณ์สุนทรียะกับความเป็นจริง
ประสบการณ์สุนทรียะเป็นการรับรู้ที่ไม่หวังผล ดังนั้นจึงไม่เกี่ยวข้องกับความเป็นจริงแต่อย่าใด เช่น เราหิวจริง ๆ เมื่อกินอาหารจานใดก็รู้สึกอร่อยไปหมด รสอร่อยไม่ถือว่าเป็นประสบการณ์สุนทรียะ เพราะเป็นการตอบสนองความหิวของเรา ถ้าเราแยกความหิวที่เป็นความรู้สึกจริงออกได้ กินอาหารจานนั้นแล้วรู้สึกว่ามีรสอร่อยอาจเพียงคำเดียว หรือสองสามคำก็พอ เรียกได้ว่า เราหาประสบการณ์สุนทรียะสำหรับความสุขของเราได้แล้ว
เช่นเดียวกับการชมภาพยนตร์ชีวิต รู้สึกกินใจ ซึ้งใจในการแสดงของดารา ถือว่าเราหาประสบการณ์สุนทรียะให้แก่ตัวเรา และภาพยนตร์ชีวิตนั้น เราก็รู้ดีว่าไม่ใช่ชีวิตจริง ๆ ของผู้แสดง หรือชีวิตจริง ๆ ตามความเป็นอยู่ ถ้าใครต้องการรู้ความจริงก็ไปดูสภาพชีวิตจริง ดีกว่าไปดูภาพยนตร์ชีวิต ดังนั้นความเป็นจริงกับประสบการณ์สุนทรียะมีส่วนคล้ายคลึงกันเพียงส่วนน้อย และแตกต่างกันคนละโลกทีเดียว



เมื่อเราไปชมนิทรรศการจิตรกรรม เห็นทิวทัศน์ คลอง หรือหมู่บ้านชนบท เราดูเฉย ๆ คงไม่รู้สึกชื่นชม หรือได้รับประสบการณ์สุนทรียะแต่อย่างใด ตรงกันข้าม ขณะดูเราใช้จินตนาการของเราประกอบด้วย ก็รู้สึกว่าผู้สร้างเขาระบายสีได้กลมกลืนน่าชื่นชม สำหรับความคิดที่ว่าจะต้องเป็นภูมิภาพจริง ๆ หรือไม่นั่น ไม่ควรนำมาประกอบการดูของเรา เพราะการดู หรือมองเห็นของเราที่จะก่อให้เกิดประสบการณ์สุนทีรยะนั้น แนวทางหนึ่งก็คือ ควรเป็นการดูตามสีแสงและจังหวะ ที่เร้าให้เรารู้สึก หรือพิจารณาตามคุณสมบัติดังได้กล่าวแล้ว ซึ่งจะต่างกับการดูธรรมดา ๆ ที่ต้องการจะรู้เรื่อง สำหรับประสบการณ์สุนทรียะ ควรเป็นการดูพร้อมกับจินตนาการไปด้วย

ดนตรีบำบัด น่าสนใจอย่างไร?


ดนตรีบำบัด
(Music therapy-Mathematics of Feelings) โดย กรมสุขภาพจิต
ความมหัศจรรย์ของดนตรีกับมนุษยชาติ ได้มีบทพระราชนิพนธ์ตอนหนึ่งทางด้านดนตรี ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ที่ว่า “ชนใดไม่มีดนตรีกาล ในสันดานเป็นคนชอบกลนัก” เป็นข้อความที่เราชาวไทยทั้งหลายคุ้นเคยกันดี ซึ่งในบริบทของทีมสุขภาพจิต พวกเราได้มีการนำดนตรีมาใช้เพื่อการบำบัดรักษาผู้มีปัญหาทางสุขภาพจิตมาเป็นระยะเวลานานพอสมควร มีหลักฐานบางส่วนที่เป็นรายงานการศึกษาผลของดนตรีต่อการบำบัดทางจิตไว้ดังนี้

มีรายงานการศึกษาเรื่องของดนตรีกับเรื่องของสุขภาพจิต จากการศึกษาของ จินตนา สงค์ประเสริฐ และคณะ โรงพยาบาลสวนปรุง กรมสุขภาพจิต ได้ศึกษาเรื่อง ดนตรีบำบัดกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และเผยแพร่ตีพิมพ์ใน วารสารจิตวิทยาคลินิก ปีที่ 26 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2538, 23-30 ความว่า “ในปัจจุบันมีการนำดนตรีมาใช้บำบัดโรคต่าง ๆ ได้อย่างมีผลดียิ่งทั้งโรคทางกายและทางจิตเวช มีการค้นพบว่าดนตรีใช้ลดอาการเจ็บปวดจากการคลอดจากการถอนฟัน รักษาคนที่มีความเครียดกังวล แยกตัวจากสังคม หรือคนพิการซ้ำซ้อนได้ดีตลอดจนผู้ป่วยจิตเภท ผู้มีพฤติกรรมถดถอย เหงาเศร้าได้ ด้วยเหตุนี้จึงได้นำดนตรีบำบัดมาใช้กับผู้ป่วยจิตเวชทั้งโดยการเปิดเทปจังหวะเร้าใจ มีการขยับตัวเข้าจังหวะ ใช้ดนตรีแบบเคาะจังหวะ และอุปกรณ์เกิดเสียงให้ผู้ป่วยได้เขย่าหรือฟังเพลงแล้วให้บอกถึงความรู้สึกที่ได้จากเพลง โดยการบำบัดครั้งละ 1-1.30 ชั่วโมง สัปดาห์ละ 2 ครั้งพบว่าผู้ป่วยมีอาการเรื้อรัง พฤติกรรมถดถอย แยกตัว จะกลับเข้าสู่สังคมได้อย่างรวดเร็ว ในชั่วโมงที่ 2 ของการบำบัดผู้เหงาเศร้าจะยิ้มแย้มได้ หลังจากไม่เคยยิ้มมานานแล้ว”

นี้เป็นรายงานการศึกษาของบุคลากรสุขภาพจิตในการชี้ให้เห็นคุณประโยชน์ของดนตรีกับการบำบัดผู้ป่วยจิตเวช บทความรายงานพิเศษที่ได้อธิบายถึงความเกี่ยวข้องของดนตรีกับการเปลี่ยนแปลงของอารมณ์ ซึ่งแปลมาจาก *บทความทางวิทยาศาสตร์จากในนิตยสารเยอรมัน "เดียร์สปีเกิ้ล" (Der Spiegel) ฉบับที่ 31/28 ก.ค.2546 โดย ดวงดี คงธัญญะงามซึ่งให้มุมมองของดนตรีกับของอารมณ์ ไว้ดังนี้คือ “เสียงเพลงสามารถชวนให้เกิดอารมณ์เศร้า หรือทำให้มีความปลาบปลื้มยินดี อีกทั้งทำให้หวาดกลัวจนขนลุกตั้งชันเสียวสันหลังขึ้นมาก็ได้ สิ่งนี้เป็นขึ้นได้อย่างไร นักวิจัยได้ทำการค้นคว้าเพื่อไขปริศนาว่าจากคลื่นแรงเหวี่ยงในธรรมชาตินั้น มันเปลี่ยนสภาพกลายมาเป็นอารมณ์ความรู้สึกของมนุษย์ได้อย่างไร แล้วปริศนาของนักคีตกวีทั้งหลายมีความเป็นมาอย่างไร เพราะดนตรีนี่หรือเปล่า ที่ทำให้มนุษย์เป็นสัตว์สังคมดนตรีเป็นศิลปะที่แปลกที่สุดที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้นมาเมื่อเทียบกับการวาดภาพ การแต่งกลอน การแกะสลัก
รูปปั้น เสียงสอดคล้องกันเพียงเสียงเดียว หรือทำนองเดี่ยวเฉยๆ ก็ยังไม่มีความหมายในตัวแกนของดนตรีนั้น คือคณิตศาสตร์ล้วน เป็นแรงแกว่งของลมที่ถูกคำนวณด้วยตัวเลข-ซึ่งความถี่ห่างของแรงเหวี่ยงในอากาศนั้นๆ เข้าไปทับซ้อนกัน แล้วความมหัศจรรย์อย่างหนึ่งก็บังเกิดขึ้น-จากคณิตศาสตร์กลายมาเป็นความรู้สึกทางอารมณ์ ดนตรีสามารถกระตุ้นจิตใจได้อย่างลึกซึ้ง ให้เกิดการคิดถึงอาลัย หรือรู้สึกถึงความมีชัยชนะ แล้วเพราะเหตุไรจึงเกิดมีความสัมพันธ์กันระหว่างตัวเลขกับเสียง มนุษย์เริ่มร้องรำทำเพลงมาตั้งแต่เมื่อใด แล้วทำไมจึงต้องมีการร้องเพลง
ด้วยเครื่องมืออันทันสมัยนักวิทยาศาสตร์หลายแขนง เช่น นักจิตวิทยา นักประสาทวิทยา นักคำนวณ ผู้เชี่ยวชาญด้านสมอง นักวิชาการด้านดนตรีพากันสืบหาปรากฏการณ์ที่ว่านี้อย่างถึงรากถึงบึง ยิ่งค้นก็ยิ่งพบหลักฐานว่าดนตรีนั้นผูกพันอยู่กับชีวิตมนุษย์มานานนักหนา ในสมัยหินมีการนั่งล้อมกองไฟ และร้องเพลง พร้อมกับเต้นไปรอบๆ กองไฟ ในถ้ำที่พวกเขาอาศัยอยู่ได้พบขลุ่ยทำจากกระดูกหงส์ที่เจาะไว้ 3 รู คาดว่าจะมีอายุราว 35,000 ปี เสียงที่เกิดขึ้นจะโดยธรรมชาติ หรือจากเครื่องดนตรีก็ตามเป็นขึ้นเนื่องจากมีการสั่นไหวหลายๆ ครั้ง แล้วแกว่งทับซ้อนกันไปมา ดนตรีกำเนิดมาแต่ธรรมชาติที่ผันแปรมาเป็นวัฒนธรรม เริ่มจากเสียงกระทบของท่อนไม้ที่กลวง เสียงหวีดคล้ายการผิวปากจากลมพัด เสียงกระแสน้ำไหล ใบไม้สีกันกรอบแกรบ เสียงเหยียบทรายดังกรอดๆ เสียงผึ้งพึมพำ หรือแม้แต่แค่ก้อนหินกลิ้งตกลงมาก็เป็นต้นเหตุให้มนุษย์รับรู้เรื่องดนตรีและนำไปตีความ ทำนองกับจังหวะนั้นทำปฏิกิริยาต่อระบบสมองตรงส่วนที่รับรู้เรื่องเศร้า เรื่องยินดี ความใฝ่ฝัน ความปรารถนาต่างๆ ดังนั้น การชมภาพยนตร์ที่ไร้เสียงเพลงประกอบ จะไม่สามารถถ่ายทอดความรู้สึกให้ผู้ชมได้เลย พูดได้ว่าดนตรีคือผู้เปิดประตูให้เกิดความรู้สึกทางจิตใจ มีนักประสาทวิทยาหลายคนทั้งชาวเยอรมัน และชาวแคนาดา ทดลองด้วยการวัดคลื่นสมองของพวกอาสาสมัครโดยใช้สายเคเบิลเป็นประจุไฟฟ้าที่ติดเชื่อมอยู่กับผ้ายางสวมหัวคล้ายหมวกอาบน้ำในหลายๆ จุดรอบศีรษะเพื่อจะดูว่าเสียงเพลงประเภทใดที่เจ้าตัวบอกว่าชอบ หรือไม่ชอบจะเข้าไปทำปฏิกิริยาต่อสมองส่วนไหนบ้าง และนาง Blood ก็สรุปออกมาว่าเพลงที่เจ้าตัวว่าไพเราะนั้น ขมับซ้ายและสมองส่วนหน้าจะทำงานแล้วเข้าไปกระตุ้นที่สมองส่วนกลาง ซึ่งจุดนั้นทำให้คนเรามีความสุข แล้วสมองบริเวณเดียวกันนี้แหละที่ถูกกระตุ้นด้วยเมื่อเวลาเรารับประทานอาหาร ร่วมเพศ หรือเสพยา ในทางตรงกันข้ามเมื่อให้ฟังเพลงที่บอกว่าไม่ชอบ หรือฟังแล้วมีอาการสยองแบบระทึกใจ การทำงานของเส้นประสาทจะยิงไปที่ขมับขวา ที่น่าสนใจคือสมองแถบนี้ก็ทำงานด้วยเมื่อคนเราถูกยั่วยวนให้โกรธ" ส่วนนักค้นคว้าด้านวิวัฒนาการชาวญี่ปุ่น ฮาจิเมะ ฟูกุย วิเคราะห์ว่า "การร้องรำทำเพลงร่วมกันในกลุ่มสุภาพบุรุษทำให้ความเข้มข้นในฮอร์โมนก้าวร้าว (Testosterone) ลดลง และถ้าร้องร่วมกันทั้ง 2 เพศจะลดการหลั่งสารคอร์ติซอน (Cortisone) ซึ่งเป็นการลดความเครียด"เป็นความสามารถของประสาทหู เพราะข้างในหูคนเรามีเซลล์ประสาทเป็นเส้นขน 5,000 เส้น ซึ่งทำหน้าที่แปรสภาพให้เกิดพลังคลื่นเสียงเป็นไฟฟ้าในกระแสประสาท การบันทึกเสียงผ่านเยื่อแก้วหูเกิดขึ้นโดยความกดของอากาศ (โมเลกุลอากาศเล็กจี๊ดเดียว) ที่แกว่งไปมา พอเสียงเข้าไปในหูแล้วยังมีการขยายต่อโดยให้เสียงผ่านเข้ากระดูกข้อต่อในหู แล้วมีแผ่นบางๆ รองรับที่จะส่งต่อไปยังสารเหลวที่อยู่ในส่วนลึกนั่นคือ กระบวนการทำให้เกิดอารมณ์ ความรู้สึกทางใจจนมนุษย์เข้าไปสัมผัสกับมิติอื่นได้
นักค้นคว้าหลายคนยังสงสัยอีกว่าธรรมชาติให้มีดนตรีไว้เร้าอารมณ์ซึ่งเป็นระบบที่ร่างกายจะให้รางวัลตนเอง อย่างนั้นหรือ บางรายวิเคราะห์ว่าน่าจะเกี่ยวกับการหาคู่เพราะการร้องเพลงโดยเฉพาะในสัตว์ เช่น นก หรือแมลงส่งเสียงร้องเพื่อกระตุ้นให้เพศตรงข้ามมาผสมพันธุ์ ฝ่ายนาย David Huron ชาวอเมริกันนักวิจัยด้านดนตรีจากมหาวิทยาลัยโอไฮโอกล่าวว่า "ดนตรีน่าจะเกิดขึ้นเพื่อให้คนอยู่รวมกลุ่มกัน เพราะมนุษย์ต้องการความสัมพันธภาพด้านสังคมเป็นอย่างยิ่ง งานหลายๆ อย่างที่ต้องการกำลังใจ ต้องการระดมคนหลายๆ คนมาร่วมมือกัน เช่น นายพรานจะออกไปล่าสัตว์ เหล่าทหารจะออกไปสู้รบกับข้าศึก ชาวนาเก็บเกี่ยวผลิตผล สัตรีรวมกลุ่มกันประดิษฐ์งานหัตกรรม ฯลฯ"
ทฤษฎีอันเดียวกันนี้ที่ว่าดนตรีเป็นตัวเชื่อมประสานของสังคมนั้น นักค้นคว้าด้านวิวัฒนาการชาวญี่ปุ่น นายฮาจิเมะ ฟูกุย เสริมว่า "ยิ่งมีกลุ่มมนุษย์เพิ่มมากขึ้น การไกล่เกลี่ยความตรึงเครียดในสังคม และทางเพศก็ยิ่งมีความสำคัญมากขึ้นด้วย และดนตรีนี่แหละ คือทางออก" เมื่อนักวิชาการทั้งหลายเห็นร่องรอยการสร้างของธรรมชาติที่ว่านี้ ก็เชื่อแน่ว่าคลื่นเสียงดนตรีที่เกิดจากการแกว่งไปมาของลม (หรือโมเลกุลในอากาศ) ตามตัวเลขอันซับซ้อน แล้วเข้ามากระทบกับเส้นประสาทหูจนเกิดกระบวนการไปกระตุ้นความรู้สึกทางอารมณ์ดังที่กล่าวมาแล้ว เมื่อเป็นเช่นนี้ในสมองมนุษย์น่าจะต้องมีการวางรากฐานทางดนตรีไว้อยู่ก่อนแล้ว ดังนั้น เด็กตัวเล็กๆ จึงเป็นเป้าในการทดลองเพื่อ การศึกษาในเรื่องนี้ เพราะในหัวเด็กนั้นเขาถือว่ายังไม่ทันมีสีสันของวัฒนธรรมใดๆ เข้าไปย้อม

จิตแพทย์หญิงชาวคานาดา Sandra Drehub ได้ทดสอบกับเด็กตัวน้อยๆ โดยจัดให้คุณหนูๆ เข้าไปอยู่ในห้องทดลองที่มีของเล่นน่าเพลิดเพลินสารพัดชนิด และมีลำโพงขยายเสียงอยู่ในนั้นด้วยเพื่อทำการทดสอบค้นหารากฐานแห่งดนตรีในสมองเด็ก การทดลองของแพทย์หญิงที่ว่านี้ก็ใช้วิธีง่ายๆ คือเปิดเพลงเด็กในทำนองเดี่ยวเรียบๆ สำหรับให้เด็กเล็กๆ ที่เพิ่งจะเริ่มหัดพูดฟัง แล้วลองแอบใส่ทำนองอื่นที่มีเสียงเพี้ยนแทรกเข้าไปเป็นระยะๆ โดยทิ้งช่วงห่างบ้าง ถี่บ้างแล้วแพทย์ผู้ทำการทดลองคนนี้ก็ต้องพบกับความน่าพิศวงยิ่ง เพราะมนุษย์ตัวน้อยๆ ที่กำลังเพลินกับของเล่นอยู่นั้นต้องชะงัก และหันหัวไปทางลำโพงทุกครั้งเมื่อได้ยินทำนองแปลกปลอม ซึ่งไม่เข้ากับจังหวะเพลงที่เปิดอยู่เลยคำถามที่ว่าธรรมชาติได้ฝังหลักสูตรความสอดคล้องในการประสานเสียงทั้งหลายไว้ในสมองมนุษย์ แล้วมีการถ่ายทอดยีนอันนี้ไปเรื่อยๆ ใช่หรือไม่นั้น หากจะเอาคำตอบนี้คงต้องไปหาอาสาสมัครที่แทบจะไม่มีโอกาสได้ยินเสียงเพลงเลยมาทดสอบ ซึ่งคงหาไม่พบแน่ เพราะเดี๋ยวนี้เป็นยุคไฮเทคอิทธิพลของดนตรีได้แพร่ขยายไปทั่วทุกหย่อมหญ้า ไปที่ไหนก็มีเสียงเพลงกระจายไปทั่วโลก เช่น ในเรือบินในรถยนต์ ในครัว ตามสำนักงาน ห้างสรรพสินค้า สถานีรถไฟ แม้แต่ในกระต๊อบของหมู่บ้านเล็กๆ ประเทศปาปัวนิวกินีแสนห่างไกลความเจริญก็ยังมีเสียงเพลงของ Robbie Williams แว่วมาตามสายลม
พูดถึงอิทธิพลของเสียงเพลงแล้ว จะเห็นบุคคลในตำแหน่งสำคัญต่างๆ ใช้เพลงเป็นที่ปลอบขวัญ และกำลังใจมนุษย์ เช่น ตอนที่กำแพงเมืองเบอร์ลินถูกพังทำลายเมื่อ พ.ศ.2532 ผู้ใหญ่ผู้โตทางการเมืองพากันร้องเพลงชาติอย่างกล้าหาญ หรือในวันที่ 11 กันยายน พ.ศ.2544 ในตอนค่ำหลังจากตึก World Trade ในเมืองนิวยอร์กถล่ม ผู้แทนราษฎรรวมกลุ่ม และพากันร้องเพลง "พระผู้เป็นเจ้าทรงอวยพระพรอเมริกา" (God bless America) เพื่อลดความชอกช้ำทางจิตใจยิ่งในโบสถ์ การนมัสการไม่เคยเลยสักครั้งเดียวที่จะปราศจากการร้องเพลงถวายเกียตรพระผู้เป็นเจ้า

นักค้นคว้าชาวอังกฤษ นาย Ian Cross จากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์กล่าวเสริมว่า "การมีเพลงเปรียบเสมือนมีสนามที่เล่นในจิตใต้สำนึก เพราะหัวใจของดนตรีนั้น ให้อิสระในการไปตีความ ทำให้เกิดการสร้างสรรค์ไปตามความนึกคิด และฝึกด้านจินตนาการ นั่นคือเรื่องจำเป็นที่ขาดไม่ได้ในการจะพัฒนาสมอง"
กล่าวโดยสรุป จะเห็นได้ว่าเรื่องของดนตรีที่มีผลต่ออารมณ์ (สุขภาพจิต) ของมนุษย์เรานั้นเป็นไปอย่างมหัศจรรย์ยิ่ง
ข้อมูลอ้างอิง: มติชนรายสัปดาห์ ประจำวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547 ปีที่ 25 ฉบับที่ 1267 คอลัมน์ รายงานพิเศษ

dream stone




ก้อนหินละเมอ <---ฟังเพลง click ก้อนหินละเมอ
มองไปไกล ที่ดวงดาวสุดขอบฟ้าไกล อยากจะไปไปให้ถึงครึ่งทางแสงเธอ ดวงดารา เหมือนไม่มีวันจะพบเธอ อยากให้เธอส่องแสงลงมาพื้นดิน มองจันทรา เมื่อเวลามันกลบแสงดาว กลัวทุกคราวเพราะว่าฉันนั้นคือก้อนหิน กลัวดวงดาว ไม่ทอแสงลงกระทบดิน และก้อนหินอย่างฉันคงไม่สวยงาม อยากให้ดาว ดวงนั้นรู้ว่า เมื่อดารา ส่องแสง ฉันดูสดใส อยากให้ดาวดวงนั้นเข้าใจ ขาดเธอไป ตัวฉันคงหมดสิ้นกัน อยากให้ความทรงจำ ที่เธอให้ไว้ ช่วยทอแสงประกายทุกวัน เพราะเพียงความอบอุ่นจากเธอไม่นาน จะต่อเติมความสำคัญฉันได้.
(ก็เพลงความหมายเปรียบเทียบดีอ่ะ ฟังทีไรเศร้าแทนทุกที )
L.O.V.E <--- ฟังเพลง click L.O.V.E
L is for the way you look at me
O is for the only one I see
V is very, very extraordinary
E is even more than anyone that you adore
Love is all that I can give to you
Love is more than just a game for two
Two in love can make it Take my heart but please don't break it
Love was made for me and you
L is for the way you look, you lookin' at me
O is for the only one I see
V is so very, very extraordinary -- now
E is even more than any, any, anyone that you adore can
Love is all that I'm gonna give to you... oh
Love is more than just a game for two
Two in love can make it Take my heart but please don't you break it, cause
Love was made for me and you
I've a feeling that
Love was made for me and you
Don't you know
that Love was made for me and you

ลมหนาว


ลมหนาว <---- ฟังเพลง click ที่ ลมหนาว
ฟังเพลงนี้ทีไร.รู้สึกอารมณ์เหงา..เหงา..ทุกที

จินตนาการ


จินตนาการ
เป็นผลพวงของประสบการณ์จริงที่เกิดขึ้นแก่เราก่อน หมายถึง เมื่อเรารับรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยตรงก่อนแล้ว ความผูกพัน ความกินใจ ยังตรึงแน่นในการรับรู้ของเราภายหลังจึงเกิดความคิดจินตนาการขึ้นว่า ถ้ามีงานต้องทำมาก่อนว่ามีรูปร่างหน้าตาเป็นอย่างไร ต่อมาก็จินตนาการขึ้นว่า ถ้ามีงานต้องทำมากคนควรจะมีมือมากกว่าสองมือ หรือมีตามากกว่าสองตา เรื่องจินตนาการเป็นคนละเรื่องกันระหว่าง ความเป็นจริงกับประสบการณ์สุนทรียะ
ประสบการณ์สุนทรียะ มีความสัมพันธ์กับชีวิตเรามาก เพราะช่วยให้เราคลายจากโลกแห่งความเป็นจริง เข้าไปสัมผัสกับโลกของความสุขทางอารมณ์ ซึ่งจะช่วยประคองสุขภาพจิตให้มีพลัง รู้จักใช้เวลาว่างไม่เคร่งเครียดจนร่างกายบอบช้ำ ดังนั้นประสบการณ์สุนทรียะ จึงเป็นการรับรู้ที่กินใจทำให้เรามีความสุข โดยไม่หวังอะไรตอบแทน

วันเสาร์ที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2550

สุนทรียภาพต่างๆ

music team.


ว่างๆขอเชิญเยี่ยมชมค่ะ..แต่ยังไม่สมบูรณ์ค่ะ

วันอาทิตย์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2550

โลกของสุนทรียศาสตร์...


สุนทรียศาสตร์คืออะไร ?
ก่อนเข้าสู่ Aesthetic หรือ วิชา สุนทรียศาสตร์ ตนเองพอจะเข้าใจได้ว่า สุนทรียศาสตร์คือ วิชาที่ว่าด้วยเรื่องความงามจากสิ่งรอบๆตัวไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่มีตามธรรมชาติหรือสิ่งที่มนุษย์ประดิษฐ์คิดค้นหรือสร้างทฤษฎีขึ้นมาเพื่อถ่ายทอดความงามให้รับรู้ในรูปแบบต่างๆเช่นการวาดภาพ ดนตรี ศิลปกรรมต่างๆ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะมีความงามหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับความรู้สึกนึกคิดของแต่ละบุคคลว่างามหรือไม่โดยอาศัยประสบการณ์ที่มีมาและการถ่ายทอดปลูกฝังตั้งแต่เด็กเป็นประสบการณ์
สุนทรียศาสตร์มีประโยชน์ต่อมนุษย์อย่างไร ?
สุนทรียศาสตร์ ตามความเห็นคิดเห็นคือ สามารถช่วยในเรื่องของกระบวนการคิด การตัดสินใจอย่างมีเหตุมีผล ทำให้ผู้นั้นมีจิตใจอ่อนโยน และมองโลกในแง่ดี ไม่แข็งจนเกินไป นอกจากนั้น การเข้าใจในสุนทรีย์ศาสตร์ยังช่วยส่งเสริมให้มนุษย์ได้มีแนวทางในการแสวงหาความสุขจากความงามต่างๆกันไป และทำให้เห็นความสำคัญของสิ่งต่างๆบนโลกใบนี้ ตลอดจนรู้จักนำสุนทรียศาสตร์ไปใช้ในชีวิตด้วยเหตุผล และความรู้สึกต่างๆได้อย่างเหมาะสม

สุนทรียศาสตร์มีประโยชน์ต่อวิชาชีพอย่างไร ?

เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า ผู้ที่อยู่ในวิชาชีพพยาบาลทุกคนจะได้รับการสอนเสมอว่า วิชาชีพพยาบาลเป็นอาชีพที่ต้องปฏิบัติงานกับบุคคลซึ่งอยู่ในภาวะเจ็บป่วยโดยต้องใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์ในการให้การพยาบาล นั่นหมายถึง ผู้ป่วยเป็นบุคคลซึ่งมีจิตใจ มีความรู้สึก กลัวการเจ็บป่วย กลัวการตาย การให้การพยาบาลจำเป็นต้องมีความรู้สึกที่ดีต่อวิชาชีพก่อน จากนั้นต้องมีความตั้งใจในการให้การพยาบาล เข้าใจความรู้สึก และเห็นใจผู้ป่วย ในการให้การพยาบาลควรปฏิบัติด้วยความนุ่มนวลพร้อมกับให้การพยาบาลอย่างมีคุณภาพ มีเหตุและผล ร่วมกับใช้ความรู้และศาสตร์ ซึ่งหมายถึงวิชาต่างๆที่ได้เรียนมานำมาใช้ให้สอดคล้องกับการพยาบาลต่อผู่ป่วยในแต่ละคน
....ซึ่งผู้ป่วยแต่ละคน พยาบาลทุกท่านต้องทำความเข้าใจและให้การพยาบาลแตกต่างกันออกไป การปฏิบัติงาน และการให้การพยาบาลต่อผู้ป่วยเหล่านั้น สุดท้ายจะส่งผลกลับมาด้วยความภาคภูมิใจ และทำให้เกิดความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง และวิชาชีพมากขึ้นทุกวัน ทุกวัน...ฉะนั้นจึงเห็นได้ว่า การให้การพยาบาลและการปฏิบัติงานในวิชาชีพพยาบาลนั้น สอดคล้องกับคำกล่าวของท่านอาจารย์ที่ว่า...การเรียนสุนทรียศาสตร์ ช่วยทำให้มนุษย์เกิดความสมดุลย์ของกาย คือมีเหตุมีผล ของจิตคือ มีความรู้สึก นอกจากนั้น การเรียนสุนทรียศาสตร์ยังช่วยกล่อมเกลาจิตใจให้เป็นผู้มีจิตใจอ่อนโยน มองโลกในแง่ดีอย่างมีเหตุมีผล และส่งเสริมให้เห็นความสำคัญของสรรพสิ่งต่างๆในโลก จึงสอดคล้องกับงานวิชาชีพพยาบาล ในการดูแลให้การพยาบาลต่อผู้ป่วย และเพื่อนมนุษย์ดังที่กล่าวไว้ข้างต้น.
เรียบเรียงโดย นศ.สายทิพย์ คำอาจ

วันพุธที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2550

มองให้เป็นสุนทรียศาสตร์

take photo by my self

สุนทรียรส


สุนทรียรส

ทำให้เกิดอารมณ์และความรู้สึกชื่นชม เพลิดเพลิน อิ่มเอิบ และพึงพอใจ ประสบการณ์ทางสุนทรียะเป็นอารมณ์ และความรู้สึกอันสุนทรมีความละเอียดอ่อน ที่เกิดจากพฤติกรรมการรับรู้ที่ประทับใจและกินใจ ความงามที่ละเมียดละมัยในประสบการณ์สุนทรียะ สามารถกล่อมเกลาชีวิตจิตใจให้สว่างและสงบได้....

my photo

ภาพนี้มองเป็นสุนทรียศาสตร์ได้มาก..มาก
จะลองบรรยายดูนะคะ !
การจัดวางภาพลงตัว รอบข้างแวดล้อมไปด้วยธรรมชาติ ทั้งจากสิ่งที่สร้างขึ้น และดอกไม้พันธ์พืชต่างๆ บุคคลในภาพมีความงดงามแสดงออกให้เห็นถึง ท่าทางและท่วงท่าที่มีความนุ่มนวล และดูสุภาพเรียบร้อย....แป่ว!
สอดคล้องกับ ความเป็นคนไทย การมีวัฒนธรรมไทย การมีความอ่อนน้อมถ่อมตน....พอดีกว่า

my photo 2




my way.....
thai style....
the way of religion

ศาสตร์และศิลป์

















photo by cyril .thank you for your photo.