วันศุกร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550


สุนทรียศาสตร์ ทางดนตรี

จึงสรุปเป็นข้อคิดจากการศึกษาเรื่องของความงามในเสียงดนตรี ผู้เสพ ควรเลือกว่าจะเสพเพียงแค่ “เป็นผู้เสพ” หรือจะเป็น “ผู้ได้รับประโยชน์จากการเสพ” เพราะดนตรีนั้นงามโดยใช้เสียงเป็นสื่อ แต่ขั้นตอนสำคัญในการถ่ายทอดคือ นักดนตรีถ่ายทอดโดยใช้ “จิต” ผู้ฟังรับสื่อโดยใช้ “จิต” เป็นตัวรับรู้รับสัมผัสอารมณ์ต่าง ๆ ผลจากการรับสัมผัสด้วยจิตนั้น เพลงที่สงบ ราบเรียบ จิตก็จะว่าง จึงเป็นผลให้สมอง ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ หากผู้ฟังฟังเพลงที่ยั่วยุไปในทางกิเลส จังหวะรุกเร้ามาก จิตก็จะว่าวุ่น ฟุ้งซ่าน ขาดสมาธิ ไม่เป็นผลดีต่อ “กาย” ผู้ที่ศึกษาสื่อสุนทรียะทางดนตรีแล้ว จึงควรใช้ปัญญา เลือกฟัง เลือกใช้ดนตรี ให้เกิดประโยชน์ต่อตนเอง และครอบครัว ให้ได้ประโยชน์ทั้งทาง “กาย” และ “จิต”

ไม่มีความคิดเห็น: